ฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยร่วมสมัย)
ฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยร่วมสมัย)

ฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยร่วมสมัย)

วัฒนธรรมย่อยฮิปสเตอร์ตรงแบบประกอบด้วยรุ่นวัยวาย (generation Y) ผิวขาวซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เมือง[1][2] วัฒนธรรมย่อยนี้ถูกพรรณนาว่าเป็น "หม้อรวมสมัยนิยม รสนิยมและพฤติกรรมข้ามแอตแลนติกกลายพันธุ์" (mutating, trans-Atlantic melting pot of styles, tastes and behavior)[3] และสัมพันธ์กว้าง ๆ กับดนตรีอินดีและอัลเทอร์เนทีฟ แฟชั่นนอกกระแสหลักหลายอย่าง (เช่น เสื้อผ้าวินเทจ) มุมมองทางการเมืองนั้นสงบและเป็นสีเขียว วีแกนอาหารอินทรีย์และพื้นบ้านและวิถีชีวิตทางเลือก[4][5][6][7] ตรงแบบฮิปสเตอร์ถูกพรรณนาว่าเป็น โบฮีเมียน (Bohemian) หนุ่มสาวมั่งมีหรือชนชั้นกลางผู้อาศัยอยู่ในย่านซึ่งปรับให้เข้ากับชนชั้นกลาง (gentrification)[8][9]คำนี้ที่ใช้อย่างในปัจจุบันปรากฏครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1990 และกลายมาโดดเด่นเป็นพิเศษในคริสต์ทศวรรษ 2010[10] โดยได้ชื่อมาจากคำที่ใช้อธิบายขบวนการก่อนหน้านี้ในคริสต์ทศวรรษ 1940[11] สมาชิกวัฒนธรรมย่อยดังกล่าวไม่ระบุว่าตัวเป็นฮิปสเตอร์ และคำว่า "ฮิปสเตอร์" มักใช้เป็นคำหยาบพรรณนาผู้โอ้อวด[12] ล้ำสมัยเกินหรือขาดความเข้มแข็ง ความกล้าหรือสปิริต (effete)[8][13] นักวิเคราะห์บางส่วนแย้งว่า ความคิดฮิปสเตอร์ร่วมสมัยแท้จริงเป็นเรื่องปรัมปราที่การตลาดสร้างขึ้น[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮิปสเตอร์ (วัฒนธรรมย่อยร่วมสมัย) http://www.smh.com.au/federal-politics/society-and... http://books.google.com/books?id=5He9AgAAQBAJ&lpg=... http://www.ibtimes.com/sen-orrin-hatch-keystone-pi... http://latimesblogs.latimes.com/jacketcopy/2010/10... http://nymag.com/news/features/69129/ http://nymag.com/news/features/artisanal-brooklyn-... http://www.time.com/time/arts/article/0,8599,19132... http://www.timeout.com/newyork/article/4840/why-th... http://www.utne.com/politics/new-brooklyn-zm0z13ma... http://www.washingtontimes.com/blog/inside-politic...